Accounting and tax for your business in Thailand.
จดทะเบียนบริษัทอำเภอปากเกร็ด
ปากเกร็ด เป็นเป็นอำเภอที่มีตำบลมากที่สุดในจังหวัดนนทบุรี ที่ตั้งมีแม่น้ำเจ้าพระยาตัดผ่านตัวอำเภอ จดทะเบียนบริษัทอำเภอปากเกร็ด,รับจดทะเบียนบริษัทอำเภอปากเกร็ด,จดห้างหุ้นส่วนจำกัดอำเภอปากเกร็ด,รับจดห้างหุ้นส่วนจำกัดอำเภอปากเกร็ด,ทะเบียนบริษัทย่านอำเภอปากเกร็ด,ทะเบียนธุรกิจอำเภอปากเกร็ด,รับตรวจบัญชีอำเภอปากเกร็ด สภาพพื้นที่ทางฝั่งตะวันตกส่วนใหญ่เป็นสวนผลไม้ต่าง ๆ ไร่นา ท้องทุ่ง ปศุสัตว์ ดังเช่นในชนบท ส่วนทางฝั่งตะวันออกมีที่พักอาศัย อุตสาหกรรม ห้างสรรพสินค้า โรงภาพยนตร์ ซูเปอร์มาร์เก็ต และยังเป็นที่ตั้งหน่วยงานราชการส่วนกลางของประเทศ ในอดีตอำเภอปากเกร็ดเคยขึ้นกับจังหวัดพระนครอยู่ช่วงหนึ่ง และบางตำบลเคยอยู่ในอำเภอบางบัวทอง
ที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอปากเกร็ดตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัด และอยู่ห่างจากตัวจังหวัดไปทางทิศเหนือ 7.45 กิโลเมตร[2] มีพื้นที่การปกครองทั้งสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา โดยมีอาณาเขตติดต่อดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอลาดหลุมแก้วและอำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี มีคลองสามวา คลองเจ๊ก คลองตรง (คลองขุด) คลองพระอุดม แนวระวางโฉนดที่ดินระหว่างจังหวัดนนทบุรีกับจังหวัดปทุมธานี คลองบางตะไนย์ แนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยา และคลองบ้านใหม่เป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตดอนเมืองและเขตหลักสี่ (กรุงเทพมหานคร) มีคลองประปาเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเมืองนนทบุรี มีคลองบางตลาด แนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยา และคลองวัดแดงเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเมืองนนทบุรีและอำเภอบางบัวทอง มีคลองแม่ร่องกร่าง คลองบางบัวทอง คลองขุนมหาดไทย (ท่าลาย) แนวกำแพงหมู่บ้านดิเอมเมอรัลด์การ์เด้นบางบัวทอง แนวกำแพงหมู่บ้านดิเอมเมอรัลด์พาร์ค 3 แนวกำแพงหมู่บ้านลภาวัน 10 คลองชลประทานพระอุดม-บางบัวทอง (คลองแอน) แนวระวางโฉนดที่ดินระหว่างอำเภอปากเกร็ดกับอำเภอบางบัวทอง คลองลำโพ และคลองลากค้อนเป็นเส้นแบ่งเขต
บริการจดทะเบียนธุรกิจ
Inter Pro Accounting รับจดทะเบียนบริษัท
รับจดทะเบียนบริษัทจำกัด,จดทะเบียนบริษัทจำกัด(มหาชน)
รับจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน
รับจดทะเบียนสมาคม
รับจดทะเบียนมูลนิธิ
การจดทะเบียนธุรกิจ ประเภทต่างๆ ต้องเลือกให้เหมาะสมกับกิจการที่เราจะทำ จำเป็นจะต้องพิจารณาให้ละเอียด เพื่อการเริ่มต้นที่ดี ไม่ว่าจะเป็น เรื่อง ความน่าเชื่อถือ รายได้ต่อปี ประเภทของลูกค้า ทุนจดทะเบียน จำนวนผู้ร่วมลงทุนกับเรา การระดมทุน ความคล่องตัวในการบริหาร ตลอดจนแผนการขยายธุรกิจต่อไปในอนาคต ที่ประเทศไทยจะเข้าร่วมกับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economic Community) หรือเรียกย่อๆว่า AEC ในปี 2558 โดยเราจะเตรียมตัวให้พร้อมการการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลก การเลือกจดทะเบียนธุรกิจ สามรถแบ่งออกเป็นประเภทหลักๆดังนี้
- จดทะเบียนพาณิชย์(ร้านค้า) มีสภาพเหมือนบุคคลธรรมดา ก่อตั้ง 1 คน
- จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนสามัญ มีสภาพเหมือนบุคคลธรรมดา ก่อตั้งอย่างน้อย 2 คน
- จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล มีสภาพเป็นนิติบุคคล ก่อตั้งอย่างน้อย 2 คน
- จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด มีสภาพเป็นนิติบุคคล ก่อตั้งอย่างน้อย 2 คน
- จดทะเบียนบริษัทจำกัด มีสภาพเป็นนิติบุคคล ก่อตั้งอย่างน้อย 3 คน
- จดทะเบียนบริษัทจำกัด(มหาชน) มีสภาพเป็นนิติบุคคล ก่อตั้งอย่างน้อย 15 คน
หลังจากที่เราเลือกประเภทธุรกิจที่จะจดทะเบียนได้แล้ว ก็ต้องศึกษาและเตรียมเอกสาร ซึ่งการจดทะเบียน ก็มีความยากง่าย จำนวนเอกสาร และหน่วยงานที่รับผิดชอบในการจดทะเบียน แตกต่างกันไป ถ้าเรามีเวลาก็สามารถไปดำเนินการด้วยตัวเองได้ แต่ไม่มีเวลาก็สามารถเลือกใช้บริการ จดทะเบียนกับ บริษัท ควิกแอคเคาท์ติ้ง จำกัด ซึ่งจะทำให้งานจดทะเบียนธุรกิจเป็นเรื่องง่าย เสร็จทันตามกำหนดในราคาที่เหมาะสม ซึ่งท่านอาจใช้เวลาไปทำหรือเตรียมงานด้านอื่นๆต่อไป
ประวัติและที่มาของชื่อ
"ปากเกร็ด" เป็นคำประสมจากคำว่า "ปาก" ซึ่งสันนิษฐานว่าคงจะเนื่องมาจากชื่อวัดปากอ่าว และคำว่า "เกร็ด" ซึ่งมีความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2493 ว่า "ห้วงน้ำแคบต่อจากห้วงน้ำใหญ่ทั้งสอง" ดังนั้น คำว่าปากเกร็ดจึงน่าจะหมายถึง "บริเวณผืนแผ่นดินที่เป็นปากอ่าว มีอาณาเขตติดต่อกับแม่น้ำใหญ่"
อีกข้อสันนิษฐานหนึ่ง "ปากเกร็ด" อาจมีที่มาจากคลองที่ขุดขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระเพื่อลัดแม่น้ำเจ้าพระยาตรงช่วงที่เริ่มไหลวกเข้าไปในคุ้งบางบัวทอง โดยในอดีตผู้คนจะเรียกคลองนี้ว่า "คลองเตร็ดน้อย" และต่อมาเรียกว่า "คลองลัดเกร็ด" (หรือ "แม่น้ำลัดเกร็ด" ซึ่งทำให้เกิดเกาะเกร็ดขึ้นนั่นเอง) ส่วนบริเวณต้นคลองลัดนั้นก็เรียกว่า "ปากเกร็ด"
ประวัติศาสตร์
อำเภอปากเกร็ดในครั้งแรกมีฐานะเป็นแขวงเรียกว่า แขวงตลาดขวัญ ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2427 และต่อมาก็ได้รับการยกฐานะเป็น อำเภอปากเกร็ด มีพระรามัญนนทเขตต์คดี (เนียม นนทนาคร) เป็นนายอำเภอคนแรก ตั้งที่ว่าการอำเภออยู่ในที่ธรณีสงฆ์วัดสนามเหนือ ต่อมาจึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอไปตั้งที่หมู่ที่ 2 ตำบลปากเกร็ด ในสมัยที่หลวงรามัญนนทเขตต์คดี (เจ็ก นนทนาคร) บุตรชายของพระรามัญนนทเขตต์คดี (เนียม นนทนาคร) ขึ้นเป็นนายอำเภอ
เมื่อปี พ.ศ. 2463 กระทรวงนครบาลได้โอนตำบลอ้อมเกร็ด (เปลี่ยนชื่อมาจากตำบลบางบัวทอง) และตำบลบางพลับจากอำเภอบางบัวทอง กับโอนตำบลท่าอิฐจากอำเภอนนทบุรีมาขึ้นกับอำเภอ เพื่อความเหมาะสมด้านการปกครอง ณ ปี พ.ศ. 2470 อำเภอปากเกร็ดจึงมีท้องที่การปกครองรวม 13 ตำบล ได้แก่ ตำบลบ้านปากเกร็ด ตำบลบางพูด ตำบลบ้านใหม่ตลาดเนื้อ ตำบลสีกัน ตำบลสองห้อง (ทุ่งสองห้อง) ตำบลบางตลาดฝั่งเหนือ (บางตลาด) ตำบลเกาะเกร็ด ตำบลท่าอิฐ ตำบลอ้อมเกร็ด ตำบลบางพลับ ตำบลบ้านแหลมใหญ่ (คลองพระอุดม) ตำบลบางตะไนย์ และตำบลคลองข่อย
เดิมอำเภอปากเกร็ดมีอาณาเขตทางด้านตะวันออกติดต่อกับอำเภอบางเขน จังหวัดพระนครโดยใช้คลองเปรมประชากรตั้งแต่คลองบางตลาดขึ้นไปจนถึงคลองบ้านใหม่ตลาดเนื้อเป็นเส้นแบ่งเขตเป็นเส้นแบ่งเขต จนกระทั่งในวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2475 ทางราชการได้โอนตำบลทุ่งสองห้องจากอำเภอปากเกร็ด (ซึ่งรวมพื้นที่ตำบลสีกันเดิมไว้ด้วย) พร้อมกับตำบลลาดโตนดจากอำเภอนนทบุรีไปอยู่ในท้องที่ปกครองของอำเภอบางเขน เพื่อเพิ่มความสะดวกในการตรวจตราของเจ้าหน้าที่และความสะดวกในการติดต่อราชการของประชาชน คลองประปาจึงกลายเป็นแนวแบ่งเขตการปกครองระหว่างจังหวัดทั้งสองแทนคลองเปรมประชากรมาจนถึงทุกวันนี้
จนกระทั่งในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2486 จังหวัดนนทบุรีถูกยุบลงเนื่องจากขณะนั้นเกิดปัญหาสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ อำเภอปากเกร็ดย้ายไปขึ้นกับจังหวัดพระนคร จนกระทั่งในวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 ได้มีการจัดตั้งจังหวัดนนทบุรีขึ้นมาอีกครั้ง[10] อำเภอปากเกร็ดจึงกลับมาอยู่ในการปกครองของทางจังหวัดนับแต่นั้น
ตลอดเวลาที่ผ่านมา มีการปรับปรุงเขตการปกครองระดับตำบลภายในท้องที่อำเภอปากเกร็ดอยู่เนือง ๆ เช่น ยุบตำบลบ้านใหม่ตลาดเนื้อรวมเข้ากับตำบลบางพูด ยุบตำบลบางพลับรวมเข้ากับตำบลอ้อมเกร็ด เป็นต้น จนกระทั่งในวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 กระทรวงมหาดไทยได้เปลี่ยนแปลงเขตตำบลเดิมและตั้งตำบลใหม่อีกครั้ง โดยแยกพื้นที่บางส่วนจากตำบลปากเกร็ดตั้งเป็นตำบลบางตลาด แยกพื้นที่บางส่วนจากตำบลบางพูดตั้งเป็นตำบลบ้านใหม่ รวมพื้นที่บางส่วนจากตำบลบางตะไนย์และอ้อมเกร็ดตั้งเป็นตำบลคลองพระอุดม และแยกพื้นที่บางส่วนจากตำบลอ้อมเกร็ดตั้งเป็นตำบลบางพลับ มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน ปีเดียวกัน
ต่อมาอำเภอปากเกร็ดได้มีการย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งริมถนนแจ้งวัฒนะ หมู่ที่ 5 ตำบลปากเกร็ด เมื่อปี พ.ศ. 2505 เพื่อให้ประชาชนมาติดต่อราชการได้สะดวกยิ่งขึ้น และในวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2532 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศแยกพื้นที่ทางทิศตะวันออกของตำบลปากเกร็ดตั้งเป็นตำบลคลองเกลือ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม ปีเดียวกัน ท้องที่อำเภอปากเกร็ดจึงประกอบด้วย 12 ตำบลจนถึงปัจจุบัน
1.ปากเกร็ด (Pak Kret) 5 หมู่บ้าน
2.บางตลาด (Bang Talat) 10 หมู่บ้าน
3.บ้านใหม่ (Ban Mai) 6 หมู่บ้าน
4.บางพูด (Bang Phut) 9 หมู่บ้าน
5.บางตะไนย์ (Bang Tanai) 5 หมู่บ้าน
6.คลองพระอุดม (Khlong Phra Udom) 6 หมู่บ้าน
7.ท่าอิฐ (Tha It) 10 หมู่บ้าน
8.เกาะเกร็ด (Ko Kret) 7 หมู่บ้าน
9.อ้อมเกร็ด (Om Kret) 6 หมู่บ้าน
10.คลองข่อย (Khlong Khoi) 12 หมู่บ้าน
11.บางพลับ (Bang Phlap) 5 หมู่บ้าน
12.คลองเกลือ (Khlong Kluea) 4 หมู่บ้าน
หุ้นส่วน Inter Pro Accounting
บริษัทเราเกิดมาจากการร่วมทุนกับผู้บริหารสูงสุดของ บริษัท ชลธี บิสซิเนส กรุ๊ป จำกัด (นาย ยุทธนา รักชลธี) ซึ่งเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ทางด้านการให้บริการทางด้านบัญชีในย่านมีนบุรี และกิจการดังกล่าวมีการร่วมทุนกับต่างชาติ (ร่วมทุนกับ บริษัท GREENPRO CAPITAL CORP. ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดรองตราสารทุน หรือตลาด OTC (OTCQB: GRNQ) ในสหรัฐอเมริกา)